หลายคนที่ไม่ค่อยได้เข้าวัดทำบุญอาจจะไม่รู้เรื่องวินัยของพระซักเท่าไรนัก หรือแม้แต่คนที่เข้าวัดทำบุญเป็นประจำก็อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของพระวินัยซักเท่าไร เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และซับซ้อนพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะเข้าใจกันได้ครับ
วันนี้ลองมาดูเรื่องพระวินัยกันบ้าง เกี่ยวกับของที่พระฉัน กลืนล่วงลำคอลงไป หรือที่เรียกว่า "กาลิก" ของที่พระฉันได้นั้น ตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น 4 ประเภทครับ ซึ่งมีระยะเวลาการฉัน และการเก็บไว้ได้แตกต่างกันครับ เว็บไซต์หยุดที่นี่ได้ทำสรุปมาให้แล้วครับ ตามภาพด้านล่าง
นอกจากนั้นยังมีพระวินัย หากของในตารางนั้นผสมกัน (ระคนกัน) เช่น น้ำชาใส่นม เป็นต้น ให้เราถือเอาตัวที่อายุสั้นกว่าเป็นหลัก ครับ เช่น ชา = ยาวกาลิก ฉันได้ถึงเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ นม = ยามกาลิก ฉันได้ถึงแค่เที่ยง ต้องถือเอาตามตัวที่สั้นกว่า หากรับประเคนแล้วก็ฉันได้แค่ไม่เกินเที่ยงเท่านั้นนะครับ
หวังว่าคงมีประโยชน์กันบ้างนะครับ ใครเข้าวัดตอนไหนจะทำบุญด้วยอะไรก็ลองเปิดตารางนี้ดูประกอบนะครับ เช่น อาหาร (ยามกาลิก) หากเลยเที่ยงแล้วถวายไม่ได้แล้วครับ
ถ้าใครไปวัดช่วงบ่าย ก็ถวาย 3 ประเภทล่างได้ ส่วนบางคนอยากถวายสิ่งที่ให้พระเก็บไว้ใช้ได้นานๆ ก็ควรเลือกถวายยาวชีวิกครับ
ถ้ามีประโยชน์ก็แชร์กันได้เลยครับ :)